วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้อาเซียน : ประเทศลาว



วีดิโอสื่อการเรียนรู้
มาเรียนรู้อาเซียนกันเถอะ

ประเทศลาวเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มสมาชิกอาเซียนค่ะ
 ซึ่งวันนี้ มีวีดิโอมาให้ชมเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยค่ะ 

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ผูกสำนวนชวนอ่านกลอน

วันนี้จะขอนำเสนอผลงาน การนำเอาสำนวนไทยมาผูกเป็นกลอน จัดทำขึ้นจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในภาษาไทย ซึ่งจะมีประโยชน์สามารถนำไปเป็นสื่อในการเรียนการสอน เป็นบทอาขยานซึ่งจะให้ประโยชน์สองเท่าทั้งได้ความรู้ในเรื่องของสำนวนไทย และการแต่งคำประพันธ์ค่ะ

ผูกสำนวนชวนอ่านกลอน

ใส่ถ้อยร้อยสำนวน                   คำหลากล้วนชวนให้อ่าน
มีมาแต่ช้านาน                                     ปราชญ์โบราณกล่าวขานกัน
กาเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป               จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
หันหน้าเข้าหากัน                                จับให้มั่นคั้นให้ตาย
ฝนตกอย่าเชื่อดาว                  มีเมียสาวอย่าเชื่อยาย
หนวดเต่าเขากระต่าย                          มากขี้ควายหลายขี้ช้าง
อย่าโกหกพกลม                      กินข้าวต้มกระโจมกลาง
วาจาเหมือนงาช้าง                              ไก่ตาฟางนางนกต่อ
ถืออำนาจบาตรใหญ่                ปากปราศรัยใจเชือดคอ
ยอมหักไม่ยอมงอ                               คดในข้องอในกระดูก
อายครูบ่รู้วิชา                          อายภรรยาบ่มีลูก
แช่งชักหักกระดูก                                 ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว                    และเด็ดบัวไม่ไว้ใย
พูดชั่วอัปราชัย                                     พูดดีไว้เป็นศรีแก่ตัว
ทรัพย์ในดินสินในน้ำ                ยุให้รำตำให้รั่ว
เขียนเสือให้วัวกลัว                              กินแต่หัวพุงหัวมัน
ปากว่าตาขยิบ                        หงิมๆหยิบชิ้นปลามัน
ศรศิลป์ไม่กินกัน                                 หูตาสั้นดันอวดรู้
หายใจไม่ทั่วท้อง                   จงคิดลองตรึกตรองดู
วางจริตศิษย์มีครู                               เหมือนยกภูเขาจากอก...

อมรรัตน์ : ผู้ประพันธ์

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

เที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด

มารู้จักจังหวัดร้อยเอ็ดกัน


จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานของไทย ที่อดีตเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปรากฏชื่อในตำนานอุรังคธาตุว่า สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็จประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจำนวนมาก
มีข้อสันนิษฐานว่าเมืองร้อยเอ็ดน่าจะมีเพียงสิบเอ็ดหัวเมือง อันเนื่องมาจากการเขียนจำนวนตามแบบภาษาลาวโบราณ โดยเลขสิบเอ็ดจะประกอบไปด้วยเลขสิบกับเลขหนึ่ง (10+1 =101) ทำให้เกิดการอ่านที่ผิดเพี้ยนเป็นคำว่าร้อยเอ็ดนั้น น่าจะเป็นสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อน เพราะจากการตรวจสอบข้อความตัวอักษรธรรมในต้นฉบับใบลานเรื่องอุรังคธาตุไม่ปรากฏว่ามีจุดไหนที่เขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวเลข แต่กลับมีการเขียนถึงเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวอักษรทุกจุด (มีทั้งหมด 59 จุด) และไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายแจกแจงรายชื่อหัวเมืองทั้ง 11 แห่ง


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ลำลึกครูกลอน

ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูภาษาไทยคนหนึ่ง
มีจิตสำนึกถึงบรรพบุรุษผู้วางรากฐานเอกลักษณ์ของภาษาไทย
สร้างชื่อเสียงให้กับวงการวรรณคดีไทย กวีเอกของโลก "สุนทรภู่"
จึงได้แต่งบทกลอนนี้ขึ้นเพื่อรำลึกถึงครูผู้ชี้ทางแก่นักศึกษาครูภาษาไทย

"...รำลึกถึงครูกลอนสุนทรภู่            ผู้รอบรู้วรรณศิลป์ถิ่นอักษร
เรียงร้อยถ้อยคำเป็นคำกลอน        แรมรอนนิราศร้างห่างไกล
...ทั้งนิทานคำกลอนอักษรเด่น      ยึดถือเป็นแนวทางสว่างไสว
รำลึกถึงท่านสุนทรไว้สอนใจ         ขอน้อมไหว้บูชาครูผู้ชี้ทาง"
อมรรัตน์:ผู้ประพันธ์

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

วีดิโอนิทานเรื่อง ตะวันจันทรา


วิดีโอนิทานเรื่องตะวันจันทร


อมรรัตน์ อรัญมิตร : ผู้บรรยาย

หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ E-book

นิทานเรื่อง ตะวันจันทรา
โดย นางสาวอมรรัตน์ อรัญมิตร
รหัสนักศึกษา 543410010337
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
ปี 3 หมู่ 3 
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
จำนวน 14 หน้า (รวมปก)
เรื่องย่อ ตะวันกับจันทราเป็นเพื่อนรักกัน ซึ่งทั้งสองต้องเจอกับเรื่องราวของหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบ จนทำให้เกิดขึ้นซึ่งความพลัดพราก ทั้งคู่จะทำอย่างไร และเรื่องราวจะจบลงอย่างไร โปรดติดตาม



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อย่าดูแรงเงา

หากคุณเป็นครู คุณจะทำอย่างไร

อ้างอิงข้อมูลภาพ:Jod 8riew

การศึกษาไม่ใช่การห้ามแต่ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้

การเป็นครูที่ดีจะต้องสอนให้เด็กรู้จักมีวิจารณญาณในการดู ฟัง พูด สิ่งต่างๆ ไม่ใช่การห้ามเด็ก เพราะคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กจะปฏิบัติตามในสิ่งที่คุณห้าม คุณครูไม่สามารถที่จะอยู่กับเด็กตลอดเวลา จึงไม่สามารถที่จะห้ามเด็กได้ตลอดเวลา แต่ควรที่จะสอนว่าสิ่งที่สื่อเสนอมาที่เราได้รับฟัง ได้ดู นั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติตามหรือไม่ หรือเขาต้องการสะท้อนสังคมอย่างไร ควรที่จะทำความเข้าใจกับนักเรียน เช่นนี้นักเรียนจึงจะสามารถ ดู ชม สื่อต่างๆ ได้อย่างมีวิจารณญาณ